เมนู

มุจจลินทวรรคที่ 2



1. มุจจลินทสูตร



ว่าด้วยความสุขที่ยอดเยี่ยมในโลก



[51] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้
มุจลินท์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด 7 วัน สมัย
นั้น อกาลเมฆใหญ่เกิดขึ้นแล้ว ฝนตกพรำตลอด 7 วัน มีลมหนาว
ประทุษร้าย ครั้งนั้นแล พญามุจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตน มาวง
รอบพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยขนดหาง 7 รอบ แผ่พังพานใหญ่
เบื้องบนพระเศียรด้วยตั้งใจว่า ความหมายอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ความร้อนอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า สัมผัสแห่งเหลือบ
ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นพอล่วงสัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้น
ครั้งนั้น พญามุจลินทนาคราชทราบว่า อากาศโปร่ง ปราศจากเมฆแล้วจึง
คลายขนดหางจากพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า นิรมิตเพศของตนยืนอยู่
เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าอยู่.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

วิเวกเป็นสุขของผู้ยินดี มีธรรมอันสดับแล้ว
พิจารณาเห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียน คือ ความ
สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความเป็นผู้
มีราคะไปปราศแล้ว คือ ความก้าวล่วงซึ่งกาม
ทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก ความนำออกซึ่ง
อัสมิมานะเสียได้ นี้แลเป็นสุขอย่างยิ่ง.

จบมุจจลินทสูตรที่ 1

มุจลินทวรรควรรณนาที่ 2*



อรรถกถามุจลินทสูตร



มุจจลินทวรรค สูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ต้นจิกท่านเรียกว่า มุจลินท์ ในคำว่า มุจลินฺทมูเล นี้ มุจลินท์
นั้น ท่านเรียกว่า นิจุละ ดังนี้ก็มี, ที่ใกล้ต้นมุจลินท์นั้น. แต่อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า บทว่า มุจโล เป็นชื่อของต้นไม้นั้น, แต่บทว่า มุจโล
นั้น ท่านกล่าวว่า มุจลินท์ เพราะเป็นไม้ใหญ่ที่สุดในป่า.
บทว่า มหาอกาลเมโฆ ได้แก่ มหาเมฆที่เกิดขึ้นในเมื่อยังไม่ถึง
ฤดูฝน. จริงอยู่ มหากาลเมฆนั้นเกิดขึ้นเต็มห้องจักรวาลทั้งสิ้น ในเดือน
สุดท้ายของคิมหันตฤดู. บทว่า สตฺตาหวทฺทลิกา ความว่า เมื่อมหาอกาล-
เมฆนั้นเกิดขึ้นแล้ว ได้มีฝนตกไม่ขาดตลอด 7 วัน. บทว่า สีตวาตทุทฺทินี
ความว่า ก็ฝนตกพรำตลอด 7 วันนั้น ได้ชื่อว่า ทุททินี เพราะเป็นวันที่
ลมหนาวเจือด้วยเมล็ดฝนพัดวนเวียนไปรอบ ๆ ประทุษร้ายแล้ว.
* พระสูตรเป็น มุจจลินทสูตร อรรถกถาเป็น มุจลินทสูตร.